Home » การยศาสตร์ (Ergonomics) คือการจัดท่าทางการทำงานที่เหมาะสมกับงาน

การยศาสตร์ (Ergonomics) คือการจัดท่าทางการทำงานที่เหมาะสมกับงาน

by Shane Mendoza
162 views

การนั่งเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการปวดล้าบริเวณช่วงหลังและกระดูกสันหลัง

ว่าด้วเรื่องของ การยศาสตร์ (Ergonomics) การนั่งเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดปัญหาไม่สบายตัวอย่างรุนแรง การเลือกอุปกรณ์การทำงานหรือเก้าอี้ โต๊ะทำงานให้เหมาะกับสรีระของเราเองสามารถช่วยให้เราหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้ด้วยการปรับปรุงท่าทางตามหลักการยศาสตร์

 

อาการปวดเมื่อยจากท่านั่งทำงาน

 

ความสำคัญของการยศาสตร์ (Ergonomics)

การยศาสตร์ (ergonomics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก คือ “ergon” ที่หมายถึงงาน(work) และอีกคำหนึ่ง “nomos” ที่แปลว่า กฎตามธรรมชาติ(Natural Laws) เมื่อนำมารวมกันจำกลายเป็นคำว่า “ergonomics” หรือ “laws of work” ที่อาจแปลได้ว่ากฎของงาน ซึ่งเป็นศาสตร์ หรือวิชาการที่เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน หรือเป็นการปรับปรุงสภาพการทำงานอย่างเป็นระบบ

 

เมาส์-Ergonomics

 

สาเหตุที่นำไปสู่อาการบาทเจ็บจากการทำงาน 

  • สภาพการทำงานไม่เหมาะสม เช่น แสงสว่าง, เสียงดัง, อุณหภูมิ, ความสั่นสะเทือน, ความเร็วของเครื่องจักร, งานซ้ำซากจำเจ
  • อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีขนาดไม่เหมาะสมกับขนาด สัดส่วนของร่างกายผู้ปฏิบัติงาน
  • ลักษณะงานที่ทำด้วยท่าทางอิริยาบทที่ฝืนธรรมชาติ ได้แก่ งานที่ต้องมีการบิดโค้งงงอของข้อมือ งอแขน การงอศอก การจับ โดยเฉพาะนิ้วมือซ้ำ ๆ งานที่ต้องก้มศีรษะ ก้มหลัง บิดเอี้ยวตัว เอื้อมหรือยกสิ่งของขึ้นสุดแขน

 

ergonomics

 

ปัญหาการยศาสตร์ที่พบมากในสถานประกอบการ?

จากการรวบรวมสถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานกองทุนประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พบว่าปัญหาด้านการยศาสตร์นี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการมี 4 ประการใหญ่ คือ

  1. การประสบอันตรายจากการยกหรือเคลื่อนย้ายของหนัก
  2. การประสบอันตรายจากท่าทางการทำงาน
  3. อาการเจ็บป่วยจากการเคลื่อนย้ายของหนัก
  4. อาการเจ็บป่วยจากท่าทางการทำงาน

 

ท่านั่งที่ถูกหลักการยศาสตร์

 

ตัวอย่างการแก้ปัญหาหรือดำเนินงานด้านการยศาสตร์ที่ถูกต้อง?

การทำงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะในหรือนอกสถานประกอบกิจการ จะสามารถพบเห็นการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า ปวดข้อ ปวดหลัง ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดหลักการยศาสตร์ เช่น การยกของหนัก ท่าทางการนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ การทำงานในฝ่ายผลิตชิ้นงานต่าง ๆ เป็นต้น  ยกตัวอย่าง เช่น ท่าทางการยกของหนักซึ่งโดยทั่วไปมักจะก้มหลังยกซึ่งถือเป็นวิธีที่ผิด! ที่ถูกต้องควรจะใช้การย่อตัวแทน เพราะการก้มหลังนั้นจะส่งผลเสียต่อกระดูกสันหลังเป็นต้นเหตุของอาการปวดหลัง  หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือท่าทางการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องมีการจัดท่าทางในการนั่ง การปรับระดับความสูงของเก้าอี้ ปรับระดับของหน้าจอ เป็นต้น

เกี่ยวกับเรา

Karlmika สู่โลกของความปลอดภัยในการทำงานที่คุณสามารถอ่านความรู้ได้ฟรี และอัปเดตข้อมูลใหม่ทุกวัน เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการทำงานของคุณ หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อเราได้ผ่านทางด้านล่างนี้ 

ล่าสุด

logo-Karlmira

©2023 A Media Company – All Right Reserved. Designed and Developed by karlmikaelling